ประวัติ สถาบันราชานุกูล ดูแลพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในเด็กกลุ่มอาการดาวน์

สถาบันราชานุกูล คำนี้หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน หรือได้ยินแต่ก็ไม่รู้ว่าเป็นสถาบันเกี่ยวกับอะไร แต่หากย้อนกลับไปก่อนจะมีชื่อนี้ สถาบันแห่งนี้ (ตอนนั้นเป็นโรงพยาบาล) มีชื่อเรียกว่า โรงพยาบาลปัญญาอ่อน ที่คอยดูแล รับเลี้ยง และ ช่วยเหลือพ่อแม่ที่มีบุตรหลาน คนในครอบครัวเป็นโรคปัญญาอ่อน สถาบันแห่งนี้กว่า 50 ปีผ่านเรื่องราวอะไรมาบ้าง เราจะมาเล่าประวัติสถาบันราชานุกูลให้ฟัง
ต้นกำเนิดของโครงการ
สำหรับโครงการนี้ต้องมองย้อนกลับไปยุคที่ไทยเรามีโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยุคนั้นเลย ตอนนั้นได้มีการตั้งโครงการโรงพยาบาลปัญญาอ่อน ขึ้นเพื่อช่วยเหลือคนที่มีปัญหาทางด้านสมอง ก่อตั้งขึ้นด้วยการใช้พื้นที่โรงพยาบาลโรคติดต่อของกรมอนามัย และ ที่ทิ้งขยะของเทศบาลกรุงเทพบางส่วน จึงได้ก่อตั้งขึ้น โดยชื่อนั้นมีความตั้งใจจะใช้ชื่อนี้อยู่แล้วเพื่อสื่อสารกับคนทั่วไปได้ง่ายขึ้น หลังจากสร้างเสร็จได้รับผู้ป่วยปัญญาอ่อนมาดูแล พร้อมกับฝึกฝนทักษะบุคลากรในโรงพยาบาลให้มีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติต่อคนไข้ดังกล่าวได้ถูกต้อง
ยุคที่สอง โรงพยาบาลราชานุกูล
หลังจากโรงพยาบาลปัญญาอ่อนได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เป็นโรงพยาบาลที่มีความเฉพาะทางด้านนี้โดยตรง ประชาชนนำผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวมารักษาที่โรงพยาบาลปัญญาอ่อนนี้มากขึ้นตามไปด้วย บวกกับ บุคลากรของที่นี้มีความรู้ความสามารถมากขึ้นด้วย พร้อมกระจายเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคปัญญาอ่อนนี้ไปทั่วประเทศ รวมถึงต่างประเทศด้วย ส่วนชื่อโรงพยาบาล ได้มีการขอพระราชทานนามใหม่ว่า โรงพยาบาลราชานุกูล
ยุคที่ 3 สถาบันราชานุกูล
มาถึงยุคนี้ โรงพยาบาลราชานุกูล ได้มีการยกระดับตัวเองขึ้นมาอีกขั้นด้วยการเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารใหม่ พร้อมกับยกตัวเองขึ้นมาเป็น สถาบันราชานุกูล มีการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านโรคเกี่ยวกับสมอง สติปัญญามากขึ้น บวกกับมีการสร้างภาคีเครือข่ายทั้งในด้านการแพทย์ การพยาบาล และ งานด้านอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้การพัฒนา ฟื้นฟู สมรรถภาพคนปัญญาอ่อนนั้น กระจายไปทั่วประเทศมากขึ้นด้วย ไม่เพียงเท่านั้นมีการจัดการเด็ก ที่มีปัญหาทางด้านสติปัญญา อารมณ์ สังคม จนถึงวัยรุ่น เพื่อให้เค้าสามารถจัดการตัวเองได้ จนสามารถเข้าสู่สังคมได้ดีขึ้น และในอนาคตสถาบันราชานุกูลวางเป้าหมายว่าจะยกระดับตัวเองเป็นศูนย์กลางด้านนี้ของภูมิภาคอาเซียนเลย
ต้องถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีมากสำหรับ สถาบันราชานุกูล หรือ โรงพยาบาลคนปัญญาอ่อนในยุคแรกเริ่ม ลองคิดภาพว่าหากไม่มีใครคิดถึงกลุ่มคนปัญญาอ่อนเหล่านี้ พวกเค้าก็คงจะกลายเป็นภาระที่ต้องถูกทิ้งไว้แต่ในบ้านเท่านั้นเอง ซึ่งมันคงเป็นเรื่องน่าเศร้ามากที่พวกเค้าจะถูกจำกัดไว้เพียงแค่นั้น